วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ขั้นตอนของการวางแผนงานสอบบัญชี

การพิจารณารับงานสอบบัญชี
การรับงานสอบบัญชีสำหรับลูกค้ารายใหม่
จะมีการพิจารณาข้อมูลเบื้องาต้นก่อนที่จะรับสอบบัญชี ผลจากการรวบรวมข้อมูลและประเมินความเสี่ยง อาจทำให้ผู้สอบบัญชีปฏิเสธที่จะรับงานตรวจสอบลูกค้ารายนั้น เนื่องจากการรับงานสอบบัญชีที่มีความเสี่ยงสูงมีผลทำให้ผู้สอบบัญชีไม่สามารถปฏิบัติงานได้ตามมาตรฐานการสอบบัญชี หรือปฏิบัติงานผิดมรรยาท หรือจรรยาบรรณของผู้สอบบัญชีซึ่งมีผลทำให้ผู้สอบบัญชีเสื่อมเสียชื่อเสียง หรือถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้
ข้อมูลเบื้องต้นที่ผู้สอบบัญชีควรจะพิจารณาเพื่อประเมินความเสี่ยง ได้แก่
ประเภทของกิจการของลูกค้า
ผู้บริหารของกิจการที่จะตรวจสอบ
ฐานะทางการเงินของลูกค้า
ลักษณะรายงานที่ต้องนำส่งหน่วยงานกำกับดูแล
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของลูกค้า
ในกรณีที่งบการเงินปีก่อนของลูกค้าตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีอื่น จะต้องมีการตรวจสอบเหตุผลทางจรรยาบรรณหรือมรรยาทของวิชาชีพ ขอทราบเหตุผลดังกล่าวและข้อมูลบางประการ เช่น ความขัดแย้งของผู้สอบบัญชีเดิมกับผู้บริหารของกิจการในเรื่องการใช้หลักการบัญชี
ในทางปฏิบัติ ผู้สอบบัญชีที่กำลังพิจารณางานใหม่ต้องมีหนังสือไปยังผู้สอบบัญชีเดิม โดยมีข้อความบอกถึงการที่ตนได้รับการทาบทามให้เป็นผู้สอบบัญชีของกิจการที่ผู้สอบบัญชีเดิมเคยตรวจสอบ ว่ามีเหตุผลทางจรรยาบรรณหรือไม่ ถ้าผู้สอบบัญชีเดิมตอบกลับมาว่ามีเหตุผลทางจรรยาบรรณผู้สอบบัญชีที่พิจารณางานใหม่ต้องแจ้งให้กิจการทราบถึงความจำเป็นที่ต้องให้ผู้สอบบัญชีเดิมแจ้งให้ตนทราบถึงรายละเอียดของเหตุผลทางจรรยาบรรณ
การรับงานสอบบัญชีสำหรับลูกค้ารายเดิม
พิจารณาเหตุผลต่างๆ เช่นกรณีที่มีข้อขัดแย้งเกี่ยวกับกับการถูกจำกัดขอบเขตการตรวจสอบและประเภทของความเห็นในรายงานของผู้สอบบัญชี และลูกค้าไม่ได้จ่ายค่าสอบบัญชี

การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจที่ตรวจสอบ
ประโยชน์ของข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจที่ตรวจสอบ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจที่ตรวจสอบอย่างเพียงพอ
เพื่อให้เข้าใจในระบบบัญชีและวิธีปฏิบัติทางการบัญชีของกิจการที่ตรวจสอบ ประเมินเบื้องต้นว่างบการเงินของกิจการเป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปหรือไม่ วิธีปฏิบัติทางการบัญชีของกิจการอาจมีลักษณะเฉพาะผู้สอบบัญชีจำเป็นต้องหาความรู้เพิ่มเติม
เพื่อช่วยในการระบุปัญหาและการประเมินความเสี่ยงสืบเนื่องของกิจการที่ตรวจสอบ กิจการแต่ละแห่งมีความแตกต่างกันตามลักษณะธุรกิจ เช่น ธุรกิจที่ผลิตและขายสินค้ามีความเสี่ยงสินค้าล้าสมัยมากกว่าสินค้าทั่วไป กล่าวคือสินค้าคงเหลือในงบดุลอาจแสดงด้วยมูลค่าสูงกว่าความเป็นจริง
การได้มาซึ่งความรู้เกี่ยวกับธุรกิจที่ตรวจสอบ ถึงแม้ว่าจะมีการรวบรวมข้อมูลไว้ตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผนการตรวจสอบแล้วก็ตาม ผู้สอบบัญชีต้องแก้แขปรับปรุงเพิ่มเติมข้อมูลเหล่านั้นเมื่อมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น
แหล่งความรู้เกี่ยวกับธุรกิจและกิจการที่ตรวจสอบ อาทิเช่น ประสบการณ์ในการตรวจสอบของปีที่ผ่านมาเกี่ยวกับกิจการประเภทธุรกิจนั้น และการปรึกษาหารือกับบุคลากรกิจการ เป็นต้น
การวิเคราะห์เปรียบเทียบในเบื้องต้น
ผู้สอบบัญชีสามารถใช้วิธีการวิเคราะห์ปรียบเทียบในช่วงการวางแผนการตรวจสอบ เพื่อช่วยในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจและระบุเรื่องที่จะเกิดความเสียง และยังช่วยในการกำหนดลักษณะระยะเวลา และขอบเขตวิธีปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีได้อีกด้วย โดยเปรียบเทียบข้อมูลทางการเงิน จะเป็นข้อมูลที่ช่วยให้ผู้สอบบัญชีสามารถวางแผนและใช้วิธีการตรวจสอบเพื่อให้ค้นพบการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นได้
การกำหนดระดับความมีสาระสำคัญ
ความหมายของความมีสาระสำคัญ หมายถึง รายการหรือเหตุการณ์ทางบัญชีซึ่งหากผู้ใช้งบการเงินไม่ได้รับทราบแล้ว อาจตัดสินใจผิดไปจากกรณีได้รับทราบ ความมีสาระสำคัญขึ้นอยู่กับขนาดและลักษณะของรายการทางบัญชีที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจของผู้ใช้ข้อมูล
ความหมายของระดับความมีสาระสำคัญ หมายถึงระดับความไม่ถูกต้องของรายการและข้อมูลที่ผู้สอบบัญชียอมรับได้ โดยผู้สอบบัญชีสามารถแสดงความเห็นต่องบการเงินถูกต้องตามควรแม้ว่าจะพบความไม่ถูกต้อง
ตัวอย่างของการกำหนดระดับความมีสาระสำคัญ ผู้สอบบัญชีกำหนดระดับความมีสระสำคัญสำหรับรายการที่อาจมีการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงไว้ที่จำนวนเงิน 500,000 บาท จากการตรวจสอบผู้สอบบัญชีพบว่า ยอดขายแสดงสูงไปด้วยจำนวนเงิน 30,000 บาท ในกรณีเช่นนี้ ผู้สอบบัญชีจะถือว่ายอดขายที่แสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงจำนวนเงิน 30,000 บาท นี้ไม่มีสาระสำคัญ ถึงแม้งบการเงินที่ตรวจสอบจะไม่มีการปรับปรุงแก้ไขด้วยรายการนี้

ระยะเวลาและจังหวะเวลาของการตรวจสอบ

จะมีการตรวจสอบระหว่างปี หรือตรวจสอบวันหลังสิ้นงวด

ขอบเขตของการตรวจสอบ

จะเลือกขึ้นมาทดสอบรายการที่มีจำนวนมากและสำคัญมาตรวจสอบ

ลักษณะของการตรวจสอบ

ลักษณะของการตรวจสอบ จะใช้วิธีการตรวจสอบแบบการทดสอบการควบคุม หรือ การตรวจสอบเนื้อหาสาระ เพื่อให้ได้มาซึ่งหลักฐานการสอบบัญชี

ความหมายของการวางแผนงานสอบบัญชี

การวางแผนงานสอบบัญชี หมายถึง การกำหนดขอบเขตการปฏิบัติงาน วิธีการ และเวลาที่จะใช้ในการตรวจสอบ เพื่อรวบรวมหลักฐานการสอบบัญชีอย่างเพียงพอและเหมาะสม ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์การตรวจสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2552

บทที่ 4 การวางแผนงานสอบบัญชี

ความหมายของการวางแผนงานสอบบัญชี
การวางแผนงานสอบบัญชี หมายถึง การกำหนดขอบเขตการปฏิบัติงาน วิธีการ และเวลาที่จะใช้ในการตรวจสอบ เพื่อรวบรวมหลักฐานการสอบบัญชีอย่างเพียงพอและเหมาะสม ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์การตรวจสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ลักษณะของการตรวจสอบ จะใช้วิธีการตรวจสอบแบบการทดสอบการควบคุม หรือ การตรวจสอบเนื้อหาสาระ เพื่อให้ได้มาซึ่งหลักฐานการสอบบัญชี
ขอบเขตของการตรวจสอบ จะเลือกขึ้นมาทดสอบรายการที่มีจำนวนมากและสำคัญมาตรวจสอบ
ระยะเวลาและจังหวะเวลาของการตรวจสอบ จะมีการตรวจสอบระหว่างปี หรือตรวจสอบวันหลังสิ้นงวด

วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ข้อจำกัดของการสอบบัญชี

ข้อจำกัด

1. การตรวจสอบบัญชีเราไม่สามารถตรวจสอบครบ100%ได้ ดังนั้นมีสิทธิ์ที่อาจจะเกิดข้อผิดพลาดได้

2. การตรวจสอบบัญชีขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแต่ละคน แต่ละคนอาจจะมีความคิดเห็นไม่เหมือนกันได้แล้วแต่

3. ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นของการทุจริตผู้ตรวจสอบไม่สามารถทำให้ความเสี่ยงนั้นเป็น0ได้

ผู้เกี่ยวข้องกับการบัญชี

ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบัญชีมีดังนี้

1. ผู้ตรวจสอบ (Auditor) มีหน้าที่แสดงความคิดห็นและรายงานสิ่งที่เกิดขึ้น

2. ผู้บริหาร(Managesmant) มีหน้าที่จัดทำบัญชีตามหลัการบัญชีดังนี้

2.1 ข้อมูลที่นำมาบันทึกบัญชีต้องเป็นรายการที่เกิดขึ้นจริง มีอยู่จริง และตรวจสอบได้

2.2 ข้อมูลต้องครบถ้วน

2.3 สิทธิ/ภาระผูกพันธ์ของบริษัทและกิจการ

2.4 สินทรัพย์/หนีสิน/สามารถตีราคาและวัดมูลค่าได้

2.5 แสดงรายการและเปิดเผยข้อมูลให้กับผู้ถือหุ้นและบุคคลภายนอกได้

3. ผู้ใช้(User) มีหน้าที่สำหรับการตัดสินสินใจในการทำงานเท่านั้น

ลักษณะของผู้สอบบัญชี

ผู้สอบบัญชีจะต้องมีคุณลักษณะดังนี้

1. จริยธรรม(fthice)

- ผู้สอบบัญชีทุกคนจะต้องมีความรอบคอบ, ซื่อสัตย์, มีความรู้ความสามารถในการทำงานในหน้าที่ของตัวเอง

2. มาตรฐานการปฏิบัติงานในการสอบบัญชี (standard)

- มาตรฐานการบัญชีเป็นสิ่งที่นักบัญชีทุกคนต้องรู้ ดังนั้นทุกคนจะต้องจดจำมาตรให้ได้และมันเป็นสิ่งที่สำคัญทีสุดในการทำงานของนักบัญชี

3. ความสงสัยเยื่องผู้ประกอบการวิชาชีพ(skepticism)

- นักบัญชีที่เก่งและมีความสามารถ ส่วนมากจะต้องมักเป็นผู้ที่มีความสงสัยอยู่ตลอดเวลาจึงจะหาข้อบ่พร่องในสิ่งต่างๆ ได้ดี

วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ความหมายของการสอบบัญชี

การสอบบัญชี คือ กระบวนการของการรวบรวมและการประเมินหลักฐานเกี่ยวกับสารสนเทศ เพื่อระบุและรายงานเกี่ยวกับระดับความสอดคล้องต้องกันของสารสนเทศนั้นกับหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้และการสื่อสารผลลัพท์ให้ผู้ใช้ที่สนใจ การสอบบัญชีควรปฏิบัติโดยบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและมีความเป็นอิสระ

วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2552

วัตถุประสงค์ของการสอบบัญชี

การตรวจสอบงบการเงินมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้สอบบัญชีสามารถแสดงความเห็นต่องบการเงินว่า งบการเงินนั้นได้จัดทำในส่วนสาระสำคัญเป็นไปตามมาตราฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไปหรือไม่"
ดังนั้น วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบงบการเงิน คือ การแสดงความเห็นว่างบการเงินนั้นได้แสดงฐานะการเงินผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสดของกิจการโดยถูกต้องตามควรในสาระสำคัญตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปหรือไม่