วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

กระดาษทำการของผู้สอบบัญชี




กระดาษทำการ (Audit working paper or Ducomentatio)
คือ เอกสารหรือไฟล์ที่ใช้บันทึกหลักฐานที่แสดงถึงการปฏิบัติงานตรวจสอบและรับรองบัญชี หลักฐานที่ได้รับจากการปฏิบัติงานตรวจสอบและรับรองบัญชี และสิ่งที่ตรวจพบจากการตรวจสอบของผู้สอบบัญชี ซึ่งได้แก่ เอกสารที่ผู้สอบบัญชีจัดทำขึ้นเอง เอกสารที่ได้รับมาจากกิจการที่ทำการตรวจสอบ หรือที่ขอจากบุคคลภายนอกกิจการ ทั้งนี้ เพื่อใช้ในการจัดทำรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี







วัตถุประสงค์ของการจัดทำกระดาษทำการ


1. เพื่อบันทึกหลักฐานการสอบบัญชี
กระดาษทำการเป็นบันทึกที่รวบรวมเอกสารหลักฐานการทดสอบการควบคุมและการตรวจสอบเนื้อหาสาระไว้ในปริมาณที่เพียงพอ และมีคุณภาพ เพื่อสนับสนุนการแสดงความเห็นต่อสิ่งที่เกี่ยวกับงบการเงิน ในเรื่องความมีอยู่จริง สิทธิ และภาระผูกพันเกิดขึ้นจริง ความครบถ้วน การแสดงมูลค่า การจัดหาข้อมูล การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูล ซึ่งจะช่วยเชื่อมโยงจากข้อสรุป การตรวจสอบแต่ละเรื่องไปยังรายงานของผู้สอบบัญชีว่าจะแสดงความเห็นแบบมีเงื่อนไขหรือไม่มีเงื่อนไข

2. เพื่อหาข้อสรุปและออกรายงานการสอบบัญชี
เป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะ ระยะเวลา และขอบเขตของการปฏิบัติงานตรวจสอบในงวดปัจจุบันรวมทั้งผลการตรวจสอบ ข้อสรุปจากหลักฐานที่ได้รับจากการตรวจสอบ เหตุผลของผู้สอบบัญชีในเรื่องสำคัญๆ ที่ได้บันทึกไว้ในงวดก่อน เพื่อนำมาใช้ประกอบการพิจารณาวางแผนการตรวจสอบในงวดปัจจุบัน

3. เพื่อช่วยในการควบคุมดูแลและสอบทานงานสอบบัญชี
กระดาษทำการเป็นเอกสารหลักฐานที่ใช้ในการอ้างอิง เพื่อควบคุมดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ช่วยสอบบัญชี ว่ามีความเข้าใจการสั่งการงานตรวจสอบเพียงใด งานที่ปฏิบัติเป็นไปตามแผนการสอบบัญชีโดยรวมและแนวการสอบบัญชีหรือไม่ ประเมินความสำคัญของปัญหาเกี่ยวกับการบัญชีและการสอบบัญชีที่พบระหว่างการตรวจสอบและช่วยแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้ช่วยผู้สอบบัญชี รวมทั้งนำมาปรับปรุงแผนการสอบบัญชีโดยรวม




องค์ประกอบของกระดาษทำการ

1. หัวกระดาษทำการ
-ชื่อกิจการที่ตรวจสอบ เพื่อจะได้ทราบว่าเรากำลังตรวจสอบกิจการไหนอยู่
-งวดบัญชีที่ตรวจสอบ เพื่อแสดงให้ทราบว่ากำลังตรวจสอบของงวดบัญชีใด
-ลักษณะของการตรวจสอบ
-ชื่อของการดาษทำการ ซึ่งระบุถึงเรื่องที่ตรวจสอบ หรือลักษณะของเนื้อหาโดยย่อที่ปรากฏบนกระดาษทำการ
-รหัสอ้างอิง ดัชนีอ้างอิง ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับการระบุเลขหน้าของหนังสือ แต่รหัสอ้างอิงกระดาษทำการจะถูกแบ่งเป็นหมวดหมู่ตามองค์ประกอบของงบการเงิน และขั้นตอนการตรวจสอบ
2. ดัชนีกระดาษทำการ
กระดาษทำการต้องมีรหัสอ้างอิง ในกรณีที่มีการอ้างอิงสิ่งที่ได้ตรวจสอบแล้วจากกระดาษทำการหน้าหนึ่งไปยังกระดาษทำการที่เกี่ยวข้อง เพื่อประหยัดเวลาในการตรวจสอบและเพื่อช่วยให้ติดตามหลักฐานการตรวจสอบไปยักระดาษทำการในแต่ละเรื่องได้ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ควบคุมงานสอบทานงานได้ง่ายขึ้นด้วย
3. ลายมือชื่อผู้จัดทำ ผู้ตรวจทาน และวันที่จัดทำกระดาษทำการ
เจ้าหน้าที่ตรวจสอบที่จัดทำกระดาษทำการจะต้องลงลายมือชื่อและวันที่จัดทำในกระดาษทำการ เพื่อให้ง่ายต่อการควบคุมการปฏิบัติงานและการติดตามงาน นอกจากนี้ยังเป็นหลักฐานซึ่งระบุวันที่ในการจัดทำ ทำให้ง่ายต่อการติดตามรายการ ซึ่งมักจะเรียงตามลำดับวันที่ที่ตรวจสอบ รวมทั้งจะช่วยในการวางแผนกำหนดเวลาและผู้ช่วยผู้สอบบัญชีการตรวจสอบงวดต่อไปอีกด้วย
4. ผลสรุปของการตรวจสอบบัญชี
ผู้จัดทำและผู้สอบบัญชีควรมีการสรุปผลการตรวจสอบที่ชัดเจนสำหรับการตรวจสอบแต่ละเรื่องในกระดาษทำการที่ตนตรวจสอบหรือสอบทาน เพื่อใช้ในการออกรายงาน
5. เนื้อหาการตรวจสอบหรือหลักฐานการตรวจสอบ
ในส่วนนี้จะเป็นส่วนที่สำคัญอย่างยิ่งในการจัดทำกระดาษทำการ ที่ผู้ตรวจสอบต้องการตรวจสอบและเห็นว่ามีความจำเป็นที่ต้องแสดงรายละเอียดต่างๆ ไว้ในกระดาษทำการของตนโดยปกติรายละเอียดดังกล่าวจะได้มาจากบันทึกทางการบัญชีลูกค้า เช่น สมุดแยกประเภททั่วไปทะเบียนคุมต่างๆ และเอกสารประกอบรายการ โดยการตรวจสอบจะสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ สัญลักษณ์แสดงวิธีการตรวจสอบผู้จัดทำกระดาษทำการจะระบุคำอธิบายสำหรับแต่ละเครื่องหมายที่ใช้และวิธีการตรวจสอบในส่วนล่างของกระดาษทำการ
6. ขอบเขตการตรวจสอบ
เนื่องจากการสอบบัญชีผู้สอบบัญชีและผู้ช่วยผู้สอบบัญชีไม่ได้ตรวจสอบรายการทุกรายการหรือไม่ได้ทำการตรวจสอบทั้งหมด 100 % หากแต่ใช้วิธีการทดสอบรายการบางรายการเท่านั้น ดังนั้น กระดาษทำการที่ดีควรระบุปริมาณและลักษณะของรายการที่เลือกทดสอบ รวมทั้งขอบเขตของรายการที่เลือกทดสอบด้วย นอกจากนี้ควรระบุเหตุผลเพิ่มเติมสำหรับรายการที่ไม่เลือกทดสอบด้วย
"""""""The end""""""

วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

7 จัดทำแผนสอบบัญชีโดยรวม แนวการสอบบัญชี

แผนการสอบบัญชีโดยรวม
- ขอบเขตของงาน
- ความรุ้เกี่ยวกับธุรกิจ
- ความเข้าใจระบบบัญชี
- ความลึก/สาระสำคัญ
- ลักษณะ ระยะเวลา ขอบเขต
- การสั่งการ การประสานงาน การควบคุม
องค์ประกอบ
- วัตถุประสงค์
- วิธีการตรวจสอบ
- เวลาในการตรวจสอบ
- ขอบเขตการตรวจสอบ
- ดัชนีกระดาษทำการ
- ผู้ตรวจสอบ/ผู้สอบทาน
วัตถุประสงค์การตรวจสอบ
- เงินสดมีอยู่จริง
- เงินสดครบถ้วน

สัญลักษณ์ดัชนีกระดาษทำการ
งบดุล งบกำไรขาดทุน
เงินสด A รายได้ 10
ลูกหนี้ B ค่าใช้จ่าย 20
สินค้า F
ที่ดินอาคารและอุปกรณ์ PPE
เจ้าหนี้ AA
เงินกู้ยืมระยะยาว BB
ส่วนของเจ้าของ OE

6 การทำความเข้าใจระบบควบคุมภายในและการตรวจสอบบัญชี

นำข้อมูลมาสรุป และ นำไปออกรายงานผู้สอบบัญชี
วิธีการรวบรวมข้อมูล
1 การตรวจ ตรวจสอบเอกสารตรวจสอบความมีตัวตน
2 การสังเกตการณ์
3 การคำนวน
4 การยืนยันยอด
5 วิเคราะห์เปรียบเทียบ
แหล่งข้อมูล
แหล่งข้อมูลภายใน ทำแล้วใช้ภายใน เช่นไบส่งของ
แหล่งข้อมูลภายนอก นำมาจากการดำเนินงานของผู้สอบบัญชี
จากการปฎิบัติงานของผู้สอบบัญชี
คุณลักษณะที่ดีของข้อมูล
พิจารณาว่าจะใช้ข้อมูลจากที่ใด
ดูจากความเพียงพอ ขอบเขตเป็นไปตามขอบเขตที่กำหนดไว้ ขนาดตัวอย่าง
ดูจากความเหมาะสม
- วิธีการได้มาเหมาะสมกับวัตถุประสงค์การตรวจสอบ
- แหล่งที่มาของหลักฐาน
มาจากแหล่งที่สอดคล้องกันถ้ามาจาก 2 แหล่งแต่ไม่สอดคล้องกันให้ขอข้อมูลยืนยันจากภายนอกใหม่
- ช่วงเวลาที่ได้รับหลักฐาน
เก็บข้อมูลให้เก็บกระจายของแต่ละเดือนในแต่ละปี ในงบกำไรขาดทุนข้อมูลที่ได้รับต้องได้ทันเวลาในการตัดสินใจ
- วิธีการได้มา มีความเหมาะสมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์เป็นไปตามวัตถุประ

5 การประเมินความเสี่ยงในการสอบบัญชีที่ยอมรับได้ และความเสี่ยงสืบเนื่อง

การประเมินความเสี่ยงมี 3 ประเภทได้แก่
1 ความเสี่ยงสืบเนื่อง (Inherent Risk)
2 ความเสี่ยงจากการควบคุม (control risk)
3 ความเสี่ยงจาการตรวจสอบ (direction risk)
1 ความเสี่ยงสืบเนื่อง
– เป็นความเสี่ยงที่อยู่ในตัวไม่สามารถเปลี่ยนหรือแก้ไขได้ เช่น ความปลอดภัย ความล้าสมัย ซึ่งมี 2 ระดับคือ
1 ระดับงบการเงิน
- ผู้บริหารเป็นบุคคลภายนอกโดยเกี่ยวข้องกับบัญชี รายได้และค่าใช้จ่าย ความเสี่ยงของงบการเงินของผู้บริหารภายนอกได้แก่ เป็นไปได้ที่ผู้บริหารภายนอกจะทำกำไรให้ดีขึ้นเพื่อหวังผล เช่นเงินเดือน โบนัส
- ขายอุปกรณ์เทคโนโลยีเกี่ยวข้องกับยอดคงเหลือของบัญชีลูกหนี้
2 ระดับยอดคงเหลือ
-เงินสด
-ลูกหนี้
-สินค้า
-รายได้
-ค่าใช้จ่าย

2 ความเสี่ยงจาการควบคุม
- เป็นความเสี่ยงที่ระบบบัญชีหรือระบบควบคุมภายในไม่สามารถป้องกันหรือตรวจพบ และแก้ไขข้อมูลได้ทันเวลา
3 ความเสี่ยงจาการตรวจสอบ
- ความเสี่ยงที่ผู้ตรวจสอบอาจไม่พบข้อมูลที่เท็จจริงที่มีอยู่ในบัญชี ซึ่งมักจะเกิดสาเหตุดังนี้ ความเสี่ยงจากการเลือกตัวอย่าง วิธีการตรวจสอบที่ไม่มีประสิทธิภาพ

Internal control
Coso - สภาพแวดล้อมการควบคุม
-ประเมินความเสี่ยง
-กิจกรรมควบคุม
-สารสนเทศและการสื่อสาร
-การติดตามประเมินผล

direction risk
การประเมินความเสี่ยง
-อาจอยู่ ณ จุดผลิต
-การขนส่งผู้ที่ทราบกำหนดการในการส่งคือระดับ major เท่านั้น
-คลังสินค้า
-ต้องสื่อสารให้พนักงานที่เกี่ยวข้องทราบ
ข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นจากการตรวจสอบ (direction risk)
- สุ่มตัวอย่าง
- วีการตรวจสอบ
- ข้อบกพร่องของผู้ตรวจสอบและวุฒิภาวะ
Inherent risk
Internal control
- ทำ flow chart นำมาเปรียบเทียบกับทฤษฎี ดุลยพินิจ และประสบการณ์
- แบบสอบถาม
- คำอธิบาย

Control risk
ต่ำ
test of control ทดสอบการควบคุม
- ลักษณะ test of control
- ระยะเวลา ระหว่างงวด
- ขอบเขต ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจยอมรับได้หรือยอมรับไม่ได้ถ้ายอมรับได้
-ลักษณะ year end
-ระยะเวลา หลังวันสิ้นงวด
- ขอบเขต ต่ำ
สูง
Subtentive test
- เพื่อศึกษาลักษณะ yearend audit
- ระยะเวลา หลังวันสิ้นงวด
- ขอบเขต สูง/สุ่มตัวอย่าง